THIRAPHONG YUANGYOY

THIRAPHONG
0101 0100-0100 1000-0100 1001-0101 0010-0100 0001-0101 0000-0100 1000-0100 1111-0100 1110-0100 0111

YUANGYOY
0101 1001-0101 0101-0100 0001-0100 1110-0100 0111-0101 1001-0100 1111-0101 1001

2553-06-21

การเลือกชื้อคอมพิวเตอร์

มีตังค์ 10,000 บาท ทำไรดี ?

INTEL 775 CELERON E3300 2.5 GHz 1500บาท
ASROCK G31M-S 1300บาท
KINGSTON-1 GB DDRII-1000บาท
Samsung 500GB HDD 502IJ (16MB) (7200 RPM) 2000บาท
HP W17q (GA028AA) 2500บาท

Mouse 120บาท
Keyboard 250บาท
Case+PowerSupply 500บาท

รวม 9,170 บาท

2553-06-07

แผนยุทธศาสตร์ 3 D


กรอบแนวคิด


การจัดการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนกระบวนการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์จึงเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน คือด้านหนึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาแต่ละช่วงชั้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ มีทักษะการดำรงชีวิตที่เกิดจากการฝึกหัดสามารถใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพอีกด้านหนึ่ง คือเป็นการบ่มเพราะ กล่อมเกลา ปลูกฝัง และปลุกจิตสำนึก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ขึ้นในจิตใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัดและหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม โดยการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นภารกิจทั้ง 3 ด้าน (3D) ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย(Democracy) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free)



คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


1.ด้านประชาธิปไตย (Democracy) มีความตระหนัก เห็นความสำคัญศรัทธา และเชื่อมั่นการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งรังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง


2.ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย (Decency) มีคุณธรรมจริยธรรม ความดีงาม รู้ผิดชอบชั่วดี มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและยึดถือปฏิบัติอยู่ในวิธีชีวิต


3.ด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free) รู้จักหลักเลี่ยงห่างไกลยาเสพติด


วิสัยทัศน์

มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ดี 3 ด้าน คือ ด้านประชาธิปไตยด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

1.จัดการเรียนรู้ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด 2.ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษาสู่ระดับ 3 ดี

ยุทธศาสตร์

1.สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่ดี มุ่งมั่นพัฒนาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
2.มีการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมที่เน้นการสร้างองค์ความรู้และคุณลักษณะ 3 ดี แก่ผู้เรียน
3.จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทำงานให้เป็นแบบอย่างที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน

ประเด็นยุทธศาสตร์

การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

เป้าประสงค์
1.ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างมีคุณภาพและมาตรฐานตามนโยบาย 3 ดี ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด
2.สถานศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานระดับ 3 ดีด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด



*แนวทางการดำเนินงานนโยบายสถานศึกษา 3 ดี

หลักการ

1.สถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด ต้องจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามนโยบาย 3ดี ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านประชาธิปไต (Democracy) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free)
2.เมื่อดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่กำหนด ให้เสนอหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่ พิจารณาคัดเลือกตามลำดับจนถึงกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอรับใบประกาศเกียรติคุณจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
3.เกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานศึกษา 3 ดีจะพิจารณาคัดเลือกโดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่ชุมชน และหน่วยงานต้นสังกัด ตามลำดับ

*ขั้นตอนการดำเนินงานคัดเลือกสถานศึกษา 3ดี

1.จัดทำรายละเอียดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษา 3ดี (3D) โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้
1.1มีการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
1.2มีการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1.3ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเองและมีผลการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
1.4ชุมชน องค์กร หรือเครือข่ายในพื้นที่มีส่วนร่วม

2.กำหนดแผนการดำเนินงาน
2.1ประกาศนโยบายและแนวทางการดำเนินโครงการ
2.2จัดกิจกรรมประกวดตราสัญลักษณ์และเรียงความเรื่องนโยบายสถานศึกษา 3ดี (3D)
2.3กำหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐานและคุณภาพสถานศึกษา 3 ดี
2.4หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายระดับเขตพื้นที่ เขตตรวจราชการพิจารณาคัดเลือกเพื่อค้นหาสถานศึกษาแบบอย่าง
2.5จัดกิจกรรมนำเสนอผลการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อขยายผล
2.6มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา ตรวจติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมโครงการของสถานศึกษา 2.7ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษาและจัดพิธีมอบรางวัล

3.ดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน
3.1เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
3.2สร้างการมีส่วนร่วมโดยจัดประกวดตราสัญลักษณ์ ให้นักเรีนนักศึกษาเสนอผลงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการรณรงค์
3.3ดำเนินการคัดเลือกและประเมินผล โดยมอบหมายความรับผิดชอบในทุกระดับ ดังนี้

-ระดับจังหวัด มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตดำเนินการคัดเลือกและประเมินผลสถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด
-ระดับเขตตรวจราชการ มอบหมายให้ สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการกการศึกษาทุกเขต ดำเนินการคัด
เลือกและประเมินผลสถานศึกษาภายในเขตรวจราชการ โดยมีผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งผู้แทน ขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นคณะกรรมการ
-ระดับประเทศ มอบหมายให้องค์กรหลักและหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดร่วมดำเนินการ โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นฝ่ายเลขานุการ

2553-05-30

เศรษฐกิจพอเพียง




สอดคล้องกับ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล มั่นคง ยั่งยืน ทั้ง 4 มิติ ดังนี้
หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยโรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ 2 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างยิ่ง เนื่องจากทรัพยากรที่เรานำใช้ในชีวิตประจำวัน ล้วนแล้วแต่มาจากการนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาผลิต แปรรูปให้ได้มาซึ่งพลังงาน อาทิ พลังงานไฟฟ้า พลังงานเชื้อเพลิง ดังนั้นเพื่อลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยลดการเกิดภาวะโลกร้อนจากการใช้พลังงานอย่างไม่คุ้มค่า ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวางแผนใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างคุ้มค่า ซึ่งสามารถทำได้จากการเริ่มสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกด้านการใส่ใจต่อทรัพยากรพลังงาน และนำความรู้ที่ได้กลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน ควบคู่กับการกระตุ้นให้มีการจัดกิจกรรม ช่วยกันคนละนิดพิชิตพลังงาน ขึ้นภายในโรงเรียนและขยายผลไปสู่ ครอบครัวของนักเรียน ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการร่วมกันอนุรักษ์พลังงานและใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างรู้คุณค่า และเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดพัฒนาแนวทางในการรณรงค์และปฏิบัติตนประหยัดน้ำประหยัดไฟฟ้าและประหยัดเชื้อเพลิงภายในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน ภายใต้ปรัชญา ‘‘ เศรษฐกิจพอเพียง’’
หลักความพอประมาณ
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการประหยัดและการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างคุ้มค่า โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้หลักความพอประมาณดังนี้
1. นักเรียนรู้จักคิด ใช้ทรัพยากรพลังงานในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนให้เหมาะสมและพอดี
2. นักเรียนสำรวจการนำทรัพยากรพลังงานมาใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่าเพื่อให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
3. นักเรียนรู้วิธีการรักษาทรัพยากรพลังงานในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนไม่ให้เสื่อม
โทรมก่อนถึงเวลาอันสมควร
หลักความมีเหตุมีผล
1. นักเรียนรู้ถึงความสำคัญ ความจำเป็นที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรพลังงานที่มีอยู่ใน
โรงเรียน ครอบครัวและชุมชนอย่างรู้คุณค่า
2. นักเรียนรู้จักใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า ทำให้ใช้และรักษาทรัพยากร
พลังงานอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในโรงเรียน ครอบครัวและชุมชนเพื่อให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติ
หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
1. ใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างประหยัด รู้จักช่วยกันอนุรักษ์และดูแลรักษาพลังงาน
เพื่อให้มีทรัพยากรพลังงานที่ดีในอนาคต
2. นักเรียนใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างรู้คุณค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและรู้จักวิธีการอนุรักษ์
พลังงานสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ
เงื่อนไขความรู้
1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาทรัพยากรพลังงาน แนวทางการแก้ปัญหา
2. นักเรียนนำทรัพยากรพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าและไม่ฟุ่มเฟือย
3. นักเรียนรู้จักการใช้และการรักษาทรัพยากรพลังงานตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
เงื่อนไขคุณธรรม
1. นักเรียนมีความตระหนักในการร่วมกันรักษาทรัพยากรพลังงานและสิ่งแวดล้อม (การใช้
สติปัญญาในการดำเนินชีวิต)
2. นักเรียนมีความสามัคคี การมีจิตสาธารณะ
3. นักเรียนมีความประหยัดอดออม

สู่ความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน ทั้ง 4 มิติ
มิติด้านเศรษฐกิจ
โรงเรียนและครอบครัวนักเรียนมีแนวทางและปฏิบัติตนในการประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ
ประหยัดไฟ และประหยัดเชื้อเพลิง สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเชื้อเพลิงยานพาหนะในโรงเรียนครอบครัวและชุมชนได้ และมีเงินเหลือเก็บจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
มิติด้านสังคม
โรงเรียน ครอบครัวและชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สังคมมีความรักใคร่สามัคคี

มิติด้านสิ่งแวดล้อม
การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ก่อเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เช่น พลังงานน้ำ พลังงานไฟฟ้า พลังงาน
เชื้อเพลิงส่งผลทำให้มีการผลิตพลังงานที่น้อยลง มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานลดลง รวมถึงช่วยลดการเกิดภาวะโลกร้อนเนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่จากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างฟุ่มเฟือย เช่น เชื้อเพลิงจากท่อไอเสีย ยานพาหนะที่ปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน ที่เป็นสาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน
มิติด้านวัฒนธรรม
เกิดค่านิยมการประหยัด เห็นคุณค่าพลังงาน รู้รักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ก่อเกิดวัฒนธรรมค่านิยม
การใช้และอนุรักษ์พลังงานที่ดีงาม